EMV Contactless

ตรวจสอบรายการเดินทาง หรือ ลงทะเบียนบัตรเครดิต EMV Contactless
VISA หรือ Mastercard ทุกธนาคาร ที่นี่!

1. บัตร EMV Contactless หมายถึงบัตรอะไร?

บัตร EMV Contactless หมายถึง บัตรชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะตามมาตรฐาน Europay, MasterCard และ Visa โดยบัตร EMV Contactless มี 3 ประเภท ได้แก่ บัตรเครดิต (Credit Card) บัตรเดบิต (Debit Card) และบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) ซึ่งเมื่อผนวกกับเทคโนโลยี Contactless ทำให้บัตร EMV Contactless สามารถใช้ชำระเงินแบบไร้สัมผัสได้อย่างปลอดภัย

2. บัตร EMV Contactless ที่ใช้ชำระค่าโดยสารที่ประตูอัตโนมัติของระบบรถไฟฟ้า MRT ต้องเป็นบัตรแบบใด?

 บัตรเครดิต และบัตรเติมเงินเครือข่าย VISA Mastercard ที่มีสัญลักษณ์ Contactless บนหน้าบัตรหรือหลังบัตร เป็นรูป    สามารถใช้ชำระค่าโดยสาร MRT ได้ โดยแตะบัตรผ่านเข้า-ออก ที่ประตูอัตโนมัติ

3. บัตรเดบิต สามารถนำมาใช้ชำระค่าโดยสารที่ประตูอัตโนมัติของระบบรถไฟฟ้า MRT ได้หรือไม่ ?

  ปัจจุบันสามารถใช้บัตรเดบิตของธนคารกรุงไทยและ UOB เพื่อชำระค่าโดยสาร MRT ได้ สำหรับธนาคารอื่นๆอยู่ระหว่างการพัฒนา โดยจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป
 

4. บัตรเครดิตอื่นๆ เช่น JCB UnionPay รวมถึงอุปกรณ์ Smart Device เช่น Smart Watch Smart Phone เป็นต้น สามารถนำมาใช้ชำระค่าโดยสารที่ประตูอัตโนมัติของระบบรถไฟฟ้า MRT ได้หรือไม่ ?

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ โดยจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบเมื่อระบบพร้อมรองรับบัตรเครดิตอื่นๆ หรืออุปกรณ์ Smart Device  ต่อไป

5. ทำไมบัตรเครดิต Mastercard จึงแสดงยอดเรียกเก็บ 1 บาท เมื่อมีการใช้งานครั้งแรกที่ประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติในระบบรถไฟฟ้า MRT?

บัตรเครดิต Mastercard ผู้ออกบัตรบางธนาคารจะส่งข้อความแสดงยอดเงิน 1 บาท เพื่อยืนยันสถานะบัตรพร้อมใช้งานตามมาตรฐานความปลอดภัย จากนั้นรายการเรียกเก็บอัตราค่าโดยสารตามระยะทางจริงจะแสดงในวันถัดไป ซึ่งผู้โดยสารสามารถตรวจสอบรายการเดินทาง/รายการเรียกเก็บค่าโดยสารผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.mangmoomemv.com หรือ  https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless 
 

6. บัตร EMV Contactless สามารถใช้ในการเดินทางกับระบบรถไฟฟ้า MRT ใดบ้าง?

ปัจจุบันสามารถใช้บัตร EMV Contactless ในการเดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง

7. ต้องลงทะเบียนบัตร EMV Contactless ก่อนนำมาใช้ในการเดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT หรือไม่?

ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน สามารถนำบัตร EMV Contactless มาแตะที่ประตูอัตโนมัติบริเวณที่มีสัญลักษณ์  เพื่อเดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ทุกสถานี  ภายหลังเดินทางแนะนำให้ผู้โดยสารทำการลงทะเบียนและเพิ่มบัตร EMV Contactless เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบรายการเดินทางต่างๆ ได้   

8. บัตร EMV Contactless สามารถรับส่วนลดค่าบริการจอดรถยนต์ที่อาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ได้หรือไม่?

ไม่สามารถรับส่วนลดได้ หากผู้ใช้บริการประสงค์ที่จะได้รับส่วนลดค่าบริการจอดรถ ต้องใช้บัตร MRT / MRT Plus / Park & Ride ของระบบรถไฟฟ้า MRT โดยที่บัตรจอดรถและบัตรที่ใช้เดินทางจะต้องเป็นบัตรใบเดียวกันเท่านั้น  จึงจะสามารถรับส่วนลดค่าบริการจอดรถยนต์ได้

9. ค่าโดยสารสำหรับบัตร EMV Contactless ใช้อัตราใด?

ใช้อัตราค่าโดยสารประเภทบุคคลทั่วไปที่ประกาศใช้ ณ ขณะนั้น (ตรวจสอบอัตราค่าโดยสารได้ที่ https://metro.bemplc.co.th/Fare-Calculation)

10. บัตร EMV Contactless สามารถเติมเที่ยวโดยสารได้หรือไม่?

ไม่สามารถเติมเที่ยวโดยสารได้

11. การตรวจสอบรายการเดินทาง/รายการเรียกเก็บค่าโดยสารของบัตร EMV Contactless ที่ใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ที่ช่องทางใด?

สามารถตรวจสอบรายการเดินทาง/รายการเรียกเก็บค่าโดยสาร ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.mangmoomemv.com หรือ  https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless
  • ผู้โดยสารที่ลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้ และเพิ่มบัตร EMV Contactless ลงในบัญชีผู้ใช้งานของตนเรียบร้อยแล้ว สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้เป็นระยะเวลา 60 วัน โดยนับวันปัจจุบันที่เปิดดูข้อมูลเป็นวันที่ 1
  • ผู้โดยสารที่ไม่ได้ลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้ บัตร EMV Contactless สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้เป็นระยะเวลา 7 วันโดยนับวันปัจจุบันที่เปิดดูข้อมูลเป็นวันที่ 1
  • ข้อมูลรายการเดินทางจะแสดงผลภายในวันที่เดินทาง
  • กรณีรายการเดินทางปกติมีข้อมูลการเดินทางทั้งขาเข้าและขาออก รายการเรียกเก็บค่าโดยสารจะแสดงผลภายในวันที่เดินทางหรือ 1 วันถัดจากวันที่เดินทาง
  • กรณีรายการเดินทางไม่ปกติ เช่น มีข้อมูลขาเข้า หรือขาออกเพียงรายการเดียว รายการเดินทางจะแสดงผลภายในวันที่เดินทาง แต่รายการเรียกเก็บค่าโดยสารจะแสดงผลภายในวันที่ 4 นับจากวันที่เดินทาง
  • สำหรับรายการเรียกเก็บค่าโดยสาร สามารถตรวจสอบได้จากช่องทางของธนาคารผู้ออกบัตรนั้นๆ ได้อีกช่องทางหนึ่ง

12. ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบรายการเดินทาง/รายการเรียกเก็บค่าโดยสารของบัตร EMV Contactless ที่ห้องออกบัตรโดยสารได้หรือไม่?

ไม่ได้ บัตร EMV Contactless เป็นบัตรที่ออกโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงิน หรือสถาบันอื่นๆ ที่เป็นผู้ออกบัตร ห้องออกบัตรโดยสารไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้งานของบัตร EMV Contactless ได้

13. ผู้โดยสารสามารถลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งาน และเพิ่มบัตร EMV Contactless ลงในบัญชี ได้ที่ใด?

ผู้โดยสารสามารถลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งาน และเพิ่มบัตร EMV Contactless ที่ได้นำมาใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT แล้ว ตามช่องทางเว็บไซต์ที่ผู้ให้บริการเดินรถ และ/หรือ รฟม. กำหนด ผ่าน www.mangmoomemv.com และ/หรือ https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless

14. บัตร EMV Contactless ที่ยังไม่ได้นำมาใช้เดินทางจะสามารถนำมาเพิ่มในบัญชีผู้ใช้งาน ได้หรือไม่?

ไม่ได้ ระบบจะตรวจสอบและรับลงทะเบียนเฉพาะบัตร EMV Contactless ที่ได้นำมาใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT แล้วเท่านั้น

15. ข้อมูลที่ลงทะเบียนบัตร EMV Contactless ประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง?

ข้อมูลของการลงทะเบียนอย่างน้อยประกอบด้วย ชื่อ  นามสกุล  ที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  หมายเลขโทรศัพท์  โดยผู้ถือบัตร EMV Contactless สามารถสร้างรหัสเข้าใช้งานได้ตามขั้นตอนการลงทะเบียน

16. สามารถลงเพิ่มบัตร EMV Contactless ในบัญชีผู้ใช้งาน ได้สูงสุดกี่ใบ?

 ผู้โดยสาร 1 ท่าน สามารถลงเพิ่มบัตร EMV Contactless ในบัญชีผู้ใช้งาน เพื่อใช้เดินทางในระบบ MRT ได้ ไม่จำกัดจำนวน

17. หากผู้โดยสารต้องการแก้ไข ปรับปรุง ข้อมูลการลงทะเบียนบัญชี หรือยกเลิกบัตร EMV Contactless ที่เคยเพิ่มไว้ในบัญชีผู้ใช้งาน ต้องทำอย่างไร?

สามารถแก้ไข ปรับปรุง ข้อมูลการลงทะเบียน หรือยกเลิกการลงทะเบียนบัตร EMV Contactless ผ่านช่องทางเวบไซต์ www.mangmoomemv.com หรือ https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless

18. หากผู้โดยสารต้องการใช้บัตร EMV Contactless เพื่อชำระค่าโดยสาร แต่ไม่ต้องการลงทะเบียน ได้หรือไม่?

ผู้โดยสารจะยังสามารถใช้บัตร EMV Contactless เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ตามปกติ แต่จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับผู้ลงทะเบียน ตามที่ ผู้ให้บริการเดินรถ และ/หรือ รฟม. กำหนด ตลอดจนไม่สามารถทำรายการโต้แย้ง (Dispute) กรณีพบรายการเรียกเก็บค่าโดยสารเกินจริง  และการทำรายการขอคืนมูลค่าส่วนเกิน ซึ่งจะสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่ทำการลงทะเบียนแล้วเท่านั้น

19. ผู้โดยสารที่ลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งาน และเพิ่มบัตร EMV Contactless เรียบร้อยแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน หรือสถานะการระงับการใช้งานของบัตร EMV Contactless ที่ใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ โดยดำเนินการผ่านช่องทางใด?

สามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินผ่านช่องทางการติดต่อของธนาคารผู้ออกบัตร และสามารถตรวจสอบสถานะการระงับการใช้งานของบัตรเครดิตได้ด้วยตนเองผ่านช่องทาง   www.mangmoomemv.com หรือ https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless
 

20. ผู้โดยสารสามารถลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งาน และเพิ่มบัตร EMV ผ่านอุปกรณ์ใดบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร?

ผู้โดยสารที่ได้ใช้ บัตร EMV Contactless เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT แล้ว สามารถเข้าเว็บไซต์ www.mangmoomemv.com หรือ  https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นดำเนินการลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งานและเพิ่มบัตร EMV Contactless ได้ตามขั้นตอนที่นี่  https://metro.bemplc.co.th/EMV-Contactless-WebUse

21. ขั้นตอนการตรวจสอบรายการเดินทางและรายการเรียกเก็บค่าโดยสาร มีขั้นตอนอย่างไร?

การตรวจสอบรายการเดินทางและรายการเรียกเก็บค่าโดยสาร สำหรับ ผู้ลงทะเบียน และ ผุ้ไม่ลงทะเบียน  สามารถดูขั้นตอนได้ ที่นี่ https://metro.bemplc.co.th/EMV-Contactless-WebUse
 

22. ขั้นตอนการทำรายการโต้แย้ง (Dispute) เพื่อขอคืนมูลค่าส่วนเกิน มีขั้นตอนอย่างไร?

ขั้นตอนการทำรายการโต้แย้ง (Dispute) เพื่อขอคืนมูลค่าส่วนเกิน สามารถดูขั้นตอน ที่นี่ https://metro.bemplc.co.th/EMV-Contactless-WebUse

23. หากต้องการบัตร EMV Contactless เพื่อใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ต้องติดต่อที่ใด?

สามารถติดต่อธนาคาร  สถาบันการเงิน หรือสถาบันอื่นที่ออกบัตร EMV Contactless ได้ ทั้งในและต่างประเทศ กรณีถ้าผู้โดยสารมีบัตร EMV Contactless ตามคุณสมบัติที่ระบุไว้ สามารถใช้งานได้เลย

24. หากบัตร EMV Contactless ไม่สามารถใช้งานได้ ต้องติดต่อที่ใด?

ติดต่อธนาคาร หรือสถาบันการเงิน หรือสถาบันอื่นๆ ที่เป็นผู้ออกบัตร

25. บัตร EMV Contactless หากถูกระงับการใช้งานโดยธนาคารผู้ออกบัตร สามารถใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไร?

บัตร EMV Contactless ที่ถูกระงับการใช้งานหรือบัตรที่อยู่ในสถานะหมดอายุ จะไม่สามารถใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อแจ้งปัญหาการถูกระงับใช้งานบัตร EMV Contactless ใบดังกล่าว

26. สามารถขอคืน และ/หรือ ออกบัตร EMV Contactless ทดแทน ที่ห้องออกบัตรโดยสารของระบบรถไฟฟ้า MRT ได้หรือไม่?

บัตร EMV Contactless เป็นบัตรที่ออกโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงิน หรือสถาบันอื่นๆ ที่เป็นผู้ออกบัตร ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อหน่วยงานผู้ออกบัตรโดยตรง  ทั้งนี้ไม่สามารถขอคืน และ/หรือ ออกบัตรทดแทน ที่ห้องออกบัตรโดยสารของระบบรถไฟฟ้า MRT

27. มีจุดบริการลูกค้าบัตร EMV Contactless ภายในสถานีรถไฟฟ้า MRT หรือไม่?

บัตร EMV Contactless เป็นบัตรที่ออกโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงิน หรือสถาบันอื่นๆ ที่เป็นผู้ออกบัตร ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อหน่วยงานผู้ออกบัตรได้โดยตรง 

28. บัตร EMV Contactless 1 ใบ ใช้ชำระค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารได้กี่คน?

สามารถใช้บัตร EMV contactless ชำระค่าโดยสารในระบบรถไฟฟ้า MRT จำนวน 1 ใบต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ต่อผู้ใช้บริการ 1 ท่าน

29. สามารถออกบัตร EMV Contactless หรือเติมเงิน เติมเที่ยวโดยสาร ที่ห้องออกบัตรโดยสารในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้หรือไม่?

ไม่สามารถออกบัตร EMV Contactless และไม่สามารถเติมเงินหรือเติมเที่ยวโดยสารที่ห้องออกบัตรโดยสารได้ 

30. ผู้โดยสารสามารถแจ้งเรื่องรายการเรียกเก็บค่าโดยสารที่มีมูลค่ามากกว่ารายการที่ผู้โดยสารเดินทางจริงในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ที่ช่องทางใด?

สามารถตรวจสอบรายการเรียกเก็บค่าโดยสารผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.mangmoomemv.com หรือ  https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless จากนั้น ทำรายการโต้แย้ง (Dispute) ได้ ตามขั้นตอน โดยจะพิจารณาและแจ้งผลการคืนมูลค่าส่วนเกินภายใน 14 วัน นับจากวันที่ผู้ใช้บริการติดต่อขอคืนมูลค่าส่วนเกิน

31. ผู้ใช้บริการที่ใช้บัตร EMV Contactless เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT และอยู่ในพื้นที่ชำระเงินแล้ว เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด จะต้องชำระค่าโดยสารในอัตราเท่าไร?

ระบบจะเรียกเก็บอัตราค่าโดยสารตามระยะทางที่ผู้ใช้บริการเดินทางจริง และจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม อยู่เกินระยะเวลาที่กำหนด เทียบเท่ากับอัตราค่าโดยสารร่วมสูงสุดที่ผู้ให้บริการเดินรถเรียกเก็บ ณ ขณะนั้น  

32. หากใช้บัตร EMV Contactless ในระบบรถไฟฟ้า MRT ผิดลำดับการใช้งาน เช่น มีรายการแตะบัตรขาเข้า แต่ไม่มีรายการแตะบัตรขาออก หรือบัตรที่ใช้แตะเข้า-ออก ไม่ใช่บัตรใบเดียวกัน ผู้ใช้บริการจะต้องชำระค่าโดยสารในอัตราเท่าไร?

ระบบจะเรียกเก็บค่าโดยสารไปยังบัตร EMV Contactless แต่ละใบ เทียบเท่ากับอัตราค่าโดยสารร่วมสูงสุดตามที่ ผู้ให้บริการเดินรถเรียกเก็บ ณ ขณะนั้น ดังนั้น เพื่อป้องกันการใช้งานผิดลำดับเข้า-ออก ผู้ใช้บริการจะต้องใช้บัตร EMV Contactless ใบเดียวกันเท่านั้น ในการเดินทาง แตะเข้าและแตะออกที่ประตูอัตโนมัติ

33. กรณีที่ผู้ใช้บริการจำเป็นต้องชำระค่าเดินทาง / ค่าธรรมเนียม ต่อเจ้าหน้าที่ที่ห้องออกบัตรโดยสารก่อนออกจากพื้นที่ชำระเงิน แต่ยังมีรายการเรียกเก็บค่าโดยสาร / ค่าธรรมเนียม การใช้บัตร EMV Contactless ปรากฏอยู่ในรายการเดินทาง จะต้องทำอย่างไร?

ทุกครั้งที่ผู้ใช้บริการได้ชำระค่าเดินทาง / ค่าธรรมเนียมกับเจ้าหน้าที่ที่ห้องออกบัตรโดยสารก่อนออกจากพื้นที่ชำระเงิน  ผู้ใช้บริการจะต้องเก็บใบเสร็จรับเงินไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการทำรายการโต้แย้ง (Dispute) ว่ารายการเรียกเก็บนั้น ได้มีการชำระที่ห้องออกบัตรโดยสารเรียบร้อยแล้ว

34. หากอัตราค่าโดยสารในการเดินทางเกินกว่าวงเงินคงเหลือในบัตร จะสามารถออกจากระบบได้หรือไม่?

เมื่อวงเงินคงเหลือไม่พอชำระค่าโดยสาร ผู้ใช้บริการจะยังสามารถแตะบัตรออกที่ประตูอัตโนมัติเพื่อออกจากระบบได้ 1 ครั้ง หลังจากนั้น เมื่อนำกลับมาใช้งานครั้งถัดไป ระบบจะปฏิเสธการใช้บัตรใบดังกล่าว 

35. หากวงเงินคงเหลือไม่พอชำระค่าโดยสาร แต่ผู้ใช้บริการได้ชำระเงินให้กับธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อให้มีวงเงินสำหรับใช้ในการเดินทางแล้ว จะสามารถนำบัตร EMV Contactless ใบดังกล่าวมาใช้เดินทางได้ทันทีหรือไม่?

- กรณีที่ผู้โดยสารชำระเงินให้กับธนาคารเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่เดินทางทันที ระบบจะดำเนินการเรียกเก็บค่าโดยสารค้างชำระอีกครั้งในวันที่ 1, 3, 7 และวันที่14 นับจากวันที่เดินทาง หากระบบสามารถเรียกเก็บค่าโดยสารค้างชำระสำเร็จ ผู้ใช้บริการสามารถนำบัตร EMV Contactless มาใช้เดินทางได้ในวันถัดไป 
- กรณีที่ผู้ใช้บริการชำระเงินกับธนาคารเรียบร้อยแล้วและต้องการใช้บัตรในการเดินทางทันที จะต้องนำบัตร EMV Contactless แตะที่ประตูอัตโนมัติ เพื่อให้ระบบรับ-ส่งข้อมูล โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะสามารถใช้บัตร EMV Contactless ใบดังกล่าวได้  หากผู้ใช้บริการต้องการเดินทางในช่วงระยะเวลาที่บัตรรับ-ส่งข้อมูล  สามารถใช้บัตร EMV Contactless ใบอื่น หรือบัตร MRT/MRT Plus หรือออกเหรียญโดยสารเที่ยวเดียวสำหรับการเดินทางในเที่ยวนั้น
 

36. หากบัตร EMV contactless ชำรุด สูญหาย หรือมีปัญหาในขณะเดินทาง ทำให้ไม่สามารถออกจากระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ จะต้องทำอย่างไร?

ผู้โดยสารสามารถติดต่อห้องออกบัตรโดยสารของระบบรถไฟฟ้า MRT เพื่อชำระค่าธรรมเนียมก่อนออกจากระบบ และเก็บใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานการทำรายการโต้แย้ง (Dispute) ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.mangmoomemv.com หรือ  https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless  

37. ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน หรือสถานะการระงับการใช้งานของบัตร EMV Contactless ได้ที่ช่องทางใด?

สามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินผ่านช่องทางการติดต่อของธนาคารผู้ออกบัตร และสามารถตรวจสอบสถานะการระงับการใช้งานของบัตรเครดิตได้ด้วยตนเองผ่านช่องทาง   www.mangmoomemv.com หรือ  https://metro.bemplc.co.th/emv-contactless

BANGKOK MRT

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วยแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ทำให้วางแผนการเดินทางเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสำหรับคุณ มีครบทั้งข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เช่น แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า แผนผังบริเวณสถานี สิ่งอำนวยความสะดวก ข่าวสารและกิจกรรม พร้อมทั้งฟังก์ชันต่างๆ ให้คุณเลือกใช้อีกเพียบ...

เกร็ดความรู้ด้านความปลอดภัย ข้อระวังในการใช้บันไดเลื่อน

ไม่นั่ง เดิน หรือวิ่ง ในขณะอยู่บนบันไดเลื่อน

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ bemplc.co.th ของท่านที่ดีกว่าเดิม ในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าท่านยอมรับการใช้คุ้กกี้ตามที่ระบุใน นโยบายคุ้กกี้